วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

การปฏิบัติตนที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่หายจาก "โควิด 19"


ทั้งตัวผู้ป่วยเอง และผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) อาจมีความกังวลใจในหลายๆ เรื่อง ว่าหลังจากที่รักษาตัวจนหายดีแล้ว จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติอย่างที่เคยทำมาก่อนได้มากน้อยแค่ไหน กลับมาติดเชื้อซ้ำได้หรือเปล่า และมีอะไรที่ควรระมัดระวังหรือไม่ มีคำตอบมาฝากจาก อ.ดร.พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ แพทย์สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากรายการ ติดจอ ฬ.จุฬา

 
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว แพร่เชื้อให้คนอื่นต่อได้หรือไม่?

ปกติแพทย์จะให้ผู้ป่วยที่รักษาจากอาการติดเชื้อโควิด-19 หายดีแล้วออกจากโรงพยาบาลได้ก็ต่อเมื่อครบระยะ 14 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะกลับไปแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน ครอบครัว หรือชุมชนจะน้อยมาก เพราะการแพร่เชื้อของโรคนี้จะสูงสุดในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังจากที่เริ่มมีอาการแล้ว และเชื้อต้องมีการติดต่อ ส่งผ่านอย่างใกล้ชิด หากผู้ป่วยอยู่ในบ้าน คนในชุมชนแทยจะไม่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อใดๆ จากผู้ป่วยเช่นกัน

 
ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำหลังหายดีหรือไม่?

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว หากมีอาการดีขึ้น ไม่มีอะไรผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อซ้ำอีก เนื่องจากวิธีตรวจหาเชื้อ สามารถตรวจจับเชื้อที่มีปริมาณน้อยได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ตรวจเชื้อซ้ำ

 
วิธีเช็กว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว จะไม่กลับมาแพร่เชื้อได้อีก

  1. ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ ไอ จาม และน้ำมูก
  2. ผู้ป่วยผ่านระยะเวลาเกิน 14 วัน หลังจากที่เริ่มมีอาการไปแล้ว มีโอกาสแพร่เชื้อต่อได้น้อยมาก ถือว่าผู้ป่วยหายจากโควิด-19 โดยที่ไม่ไปแพร่เชื้อให้คนอื่นได้

 
ผู้ป่วยโควิด-19 มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้หรือไม่?

หากผู้ป่วยไม่มีอาการโควิด-19 หลัง 14 วันเป็นต้นไป โอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งถือว่าน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ทำให้มีภูมิต่อการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขจะยังแนะนำให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้านจนครบ 1 เดือน ให้พักผ่อน ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน โดยที่ยังใช้มาตรการ และแนวทางเดิม

 
วิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วย เพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัว และคนในชุมชน

  1. รักษาระยะห่างจากคนในบ้าน 1-2 เมตร รวมถึงตอนรับประทานอาหารแทงหวยออนไลน์
  2. แยกห้องนอน
  3. ไม่ใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ ร่วมกัน 
  4. แยกซักเสื้อผ้า ด้วยผงซักฟอกปกติ
  5. ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆ
  6. ผู้ป่วยควรพยายามไม่นำตัวเองไปเสี่ยงรับเชื้อไวรัสใหม่ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่ร่างกายอีก 
  7. แยกทิ้งขยะที่มีน้ำมูก หรือน้ำลายอยู่ เช่น หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว โดยใส่ถุงแยกสองชั้น
  8. ผู้ป่วยที่เพิ่งหาย ควรใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงคนในครอบครัวที่จำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วย
  9. ลดการสัมผัสบริเวณที่แตะบ่อยๆ รวมถึงการใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก
  10. ล้างมือบ่อยๆ

ติดตาม ข่าวกีฬา ข่าวประจำวัน

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563

อาหารเพิ่ม "วิตามินเอ" กินง่าย ได้ประโยชน์


วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่สำคัญ จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการทำงานในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ดูแลในเรื่องของผิวพรรณ ดีต่อเยื่อบุในลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ดีต่อการมองเห็น และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ด้วย แต่ข้อสำคัญคือร่างกายเราไม่สามารถที่จะสร้างวิตามินเอขึ้นมาเองได้ จึงจำเป็นจะต้องได้รับวิตามินเอผ่านการรับประทานอาหารในทุกๆ วัน ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเอาสุดยอด อาหารเพิ่มวิตามินเอ มาฝากกัน


สุดยอด อาหารเพิ่มวิตามินเอ

  • มันเทศ

มันเทศ มีรสหวาน อร่อย และอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม วิตามินซี และแน่นอนว่าอัดแน่นไปด้วยวิตามินเอที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยมันเทศขนาดกลางหนึ่งหัว จะให้ วิตามินเอ ต่อร่างกายสูงถึง 900 ไมโครกรัมเลยทีเดียว
  • ผักโขมลวกหรือต้ม

การรับประทานผักใบเขียว นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะในผักนั้นเต็มไปด้วยทั้งแร่ธาตุและวิตามินจำเป็นสำหรับร่างกาย ในผักโขมก็เช่นเดียวกัน มีทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม มีแคลอรี่ที่ต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินเค และวิตามินเอ โดยการรับประทาน ผักโขมต้มสุก 1 ถ้วย จะได้รับปริมาณของ วิตามินเอ ประมาณ 943 ไมโครกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการตลอดทั้งวัน
  • ฟักทองบัตเตอร์นัท (Butternut Squash) หรือ ฟักทองน้ำเต้า

ผักในตระกูล Squash หรือผักตระกูล ฟักทอง เป็นผักที่มีวิตามินเอสูง แต่ฟักทองบัตเตอร์นัท จัดว่าเป็นพืชตระกูลฟักทองที่ให้วิตามินเอมากที่สุด นอกจากวิตามินเอแล้ว ฟักทองบัตเตอร์นัท ก็ยังให้โพแทสเซียม แคลเซียม และวิตามินซีในปริมาณสูง ที่สำคัญคือแคลอรี่ต่ำ ซึ่งดีสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักด้วย
  • แคนตาลูป

ผลไม้สารพัดประโยชน์อย่างแคนตาลูป นำไปทำน้ำผลไม้ก็ได้ กินสดก็อร่อย ใส่เป็นเครื่องเคียงในขนมหวานก็ยิ่งดีใหญ่ เรียกได้ว่าแคนตาลูปลูกเดียว แต่นำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องความอร่อยได้หลายทางจริงๆ ซึ่งนอกจากจะอร่อยและรับประทานได้หลายรูปแบบแล้ว แคนตาลูป ก็ยังเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินเอสูงอีกด้วย โดยแคนตาลูป 1 ถ้วย จะให้ วิตามินเอ 270 ไมโครกรัม และยังได้ทั้งโพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินซีอีกด้วย
  • พริกหยวกสีแดง

พริกหยวกสีแดง เป็นผักที่ให้แคลอรี่ต่ำ พริกหยวกแดงหนึ่งลูกให้พลังงานเพียง 37 แคลอรี่เท่านั้น การรับประทานพริกหยวกแดง 1 ผลจะให้ วิตามินเอ อยู่ที่ 187 ไมโครกรัม
  • มะม่วง

ผลไม้รับหน้าร้อน ของโปรดใครหลายคนอย่าง มะม่วง จัดว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ให้วิตามินเอสูง โดย มะม่วง 1 ลูก มีปริมาณของ วิตามินเอ ราว ๆ 181 ไมโครกรัม
  • แอพริคอต (Apricot)

หนึ่งในผลไม้ที่ให้แคลอรี่ต่ำ ก็คือผลแอพริคอต ซึ่งนอกจากแคลอรี่น้อยแล้วก็ยังให้โพแทสเซียม ไฟเบอร์ และวิตามินเอ โดย แอพริคอต 1 ถ้วย ให้วิตามินเออยู่ที่ 158 ไมโครกรัม 
  • บรอกโคลีต้มสุก

สายรักผักอ่านแล้วคงยิ้มออก เพราะว่า บรอกโคลี เป็นอีกหนึ่งอาหารที่ให้วิตามินเอสูง โดยการรับประทานบรอกโคลีต้มสุก 1 ถ้วย จะได้ วิตามินเอ ที่ 120 ไมโครกรัม และที่สำคัญคือแคลอรี่น้อย เพราะบรอกโคลีหนึ่งถ้วยให้พลังงานแค่เพียง 54 แคลอรี่เท่านั้นเอง
  • ตับวัว

มากันที่เนื้อสัตว์บ้าง เพราะไม่เพียงแค่ผักกับผลไม้เท่านั้นที่ให้วิตามินเอ แต่เนื้อสัตว์อย่างตับวัว ก็ให้วิตามินต่อร่างกายด้วยเช่นกัน การรับประทานตับวัวทอดขนาด 3 ออนซ์ (หรือประมาณ 85 กรัม) จะให้วิตามินเอมากถึง 6,582 ไมโครกรัม เลยทีเดียว ถ้าใครชอบเนื้อสัตว์ล่ะก็ ไม่ควรพลาดตับวัว
  • น้ำมันตับปลา

อีกหนึ่งอาหารที่อาจจะค่อนไปทางอาหารเสริม โดยเฉพาะน้ำมันตับปลา เพราะเป็นอีกหนึ่งแหล่งวิตามินเอที่สำคัญ การรับประทานน้ำมันตับปลาหนึ่งช้อนโต๊ะ ให้ วิตามินเอ มากถึง 4,080 ไมโครกรัม ซึ่งดีกับระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพหัวใจ และยังอาจช่วยป้องกันอาการซึมเศร้าได้
  • พายฟักทอง

หากเป็นคนชอบของหวาน และอยากรับประทานของหวานที่ให้ประโยชน์กับร่างกายล่ะก็ อย่าลืมนึกถึงพายฟักทอง เพราะในฟักทองที่เป็นวัตถุดิบของพายนั้น มีเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) สารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะสาร ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทิน (Zeaxanthin) ที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น และแน่นอนว่ารวมถึงวิตามินเอด้วย แค่รับประทานพายฟักทอง 1 ชิ้น ก็จะได้รับวิตามินเอราวๆ 488 ไมโครกรัม เรียกว่าทั้งอร่อยและพร้อมไปด้วยคุณประโยชน์จริงๆ
แม้ร่างกายจะไม่สามารถสร้าง วิตามินเอ ได้เอง แต่เราสามารถเพิ่มปริมาณวิตามินเอได้ผ่านการรับประทานอาหาร หมั่นกินผักและผลไม้หลากสี รวมถึงเนื้อสัตว์ให้ครบถ้วน เพื่อที่ร่างกายจะได้เต็มเปี่ยมไปทั้งพลังงานและสารอาหาร พร้อมที่จะเติบโตและสุขภาพดีได้ในทุกๆ วัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

แพทย์ย้ำ "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ฆ่าเชื้อ ”โควิด-19″ ไม่ได้


แพทย์ย้ำการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 อีกทั้งยังมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ทำให้ประชาชนหวาดกลัวและพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงกว่าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและในบางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเหมาะสำหรับทำความสะอาด เช็ด ถู เพื่อฆ่าเชื้อ

เอทานอลสำหรับล้างแผล-ในเจลล้างมือ กินไม่ได้

เอทานอลสำหรับล้างแผล เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของเอทานอล และ Isopropanol ไม่สามารถนำมารับประทานได้ เพราะในขั้นตอนการผลิต มีสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะมีการผสมสีเพื่อให้สังเกตุได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีแอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี เรียกว่า เมทิลแอลกอฮอล์ หรือ เมทานอล (methyl alcohol หรือ methanol) เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย ติดไฟง่าย มักจะเติมสีเพื่อความแตกต่างในการใช้งานกับเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเมื่อโดนผิวหนังจะรู้สึกเย็น นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ หากเผลอรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการตาพร่ามัว มองไม่ชัด การได้รับเมทิลแอลกอฮอล์ หรือ เมทานอล ในปริมาณมากจะทำลายประสาทตาจนตาบอดถาวร ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบหายใจ ทำให้ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
ขณะที่ นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจาก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อหวังฆ่าเชื้อโควิด-19 อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ดื่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมดื่มเป็นประจำมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย เพราะเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมและส่งต่อการทำงานในทุกระบบของร่างกาย เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น การรวมกลุ่มเพื่อดื่มสังสรรค์ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อจากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์จากแก้วเดียวกันหรือหลอดเดียวกัน ทั้งนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก นอกจากจะไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้แล้ว อาจทำให้เกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

"อยู่บ้าน" อย่างไรให้ร่างกายฟิต พิชิต "โควิด-19" ได้ชะงัด


ในปัจจุบันนอกจากจะต้องระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) แล้ว สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการใช้ชีวิต คือ ความยากในการออกกำลังกาย เพราะสถานที่ออกกำลังกายต่างๆ ทั้ง ฟิตเนส สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล สนามแบดมินตัน สนามเทนนิส หรือสนามกีฬาอื่นๆ ต่างถูกปิดชั่วคราว ซึ่งหากคุณเป็นผู้ที่ชอบออกกำลังกายเป็นทุนเดิม การอยู่บ้านหรือ Work From Home อาจจะทำให้น้ำหนักขึ้น สุขภาพอ่อนแอลง ไปจนถึงมีความหงุดหงิดได้ง่าย
             ซึ่งหลายๆ ท่านอาจมีคำถามว่า  “หยุดออกกำลังกายนานเท่าใด ร่างกายจะเริ่ม อ่อนแอลง ความอึดลดลง หรือกล้ามเนื้อเล็กลง” นพ.เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านคลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ให้คำตอบแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
  1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) พบว่ากล้ามเนื้อจะค่อยๆ อ่อนแอลงอย่างช้าๆ หลังจากหยุดออกกำลังกาย ขนาดของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลง เมื่อครบ 3 สัปดาห์ ขนาดของกล้ามเนื้อถึงจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ตามรายงานการวิจัยของ D. Bubnis (2018) แต่กล้ามเนื้อสามารถกลับมาแข็งแรงเท่าเดิมได้อย่างรวดเร็วหากกลับมาออกกำลังกาย โดยใช้เวลาฟื้นฟู 3 สัปดาห์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในช่วง Work From Home ครั้งนี้ยาวนานกว่า 3 สัปดาห์ จึงควรฝึกออกกำลังกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
  2. ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardio Endurance) อันนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะความแข็งแรง และความอึดของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 2-3 วันหลังจากการหยุดออกกำลังกาย จากงานวิจัยของ Charles R. Pedlar (2018) พบว่า นักวิ่งมาราธอน 21 คน ที่ลดปริมาณการซ้อมลง 4 สัปดาห์ จะเสียความแข็งแรงหรือความฟิตของกล้ามเนื้อหัวใจลงอย่างชัดเจนถึงร้อยละ 25 แต่หากเป็นมือสมัครเล่นทั่วไปแล้ว การหยุดออกกำลังกายเป็นเวลาเท่ากันนี้ จะทำให้ความแข็งแรงลดลงถึงร้อยละ 80-90 เลยทีเดียว

 
ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกัน

- อายุ และ เพศ  เนื่องจากอายุที่มากขึ้นส่งผลให้ คงสภาวะความแข็งแรงหรือความฟิตได้ยากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยหากเปรียบเทียบ คนอายุ 65-75 ปี กับ 20-30 ปี ผู้สูงอายุในกลุ่มแรกจะเสียความแข็งแรงไปเร็วกว่าถึง 4 เท่าเลยทีเดียว  สำหรับเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงนั้น ไม่มีผลต่อการถดถอยของความแข็งแรง คือจะเสียความแข็งแรงด้วยความเร็วเท่าๆ กัน
- วัยหมดประจำเดือน พบว่าการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงหลังหมดประจำเดือน จะส่งผลให้ปริมาณและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง

คำถามต่อไปที่พบได้บ่อยในช่วงนี้คือ “หากกลับมาออกกำลังกายหลังจากหมดช่วงโควิด-19 แล้ว จะใช้เวลานานไหมกว่าจะแข็งแรงเท่าเดิม ?” สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
- คนที่เคยออกกำลังกายอยู่ก่อนแล้ว จะสามารถกลับไปแข็งแรงดังเดิมได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
- กล้ามเนื้อของนักกีฬา หรือ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะมีหน่วยความจำเกิดขึ้น โดยสามารถจำได้ว่า กล้ามเนื้อเคยมีขนาดเท่าใด และทำงานชินกับกิจกรรมแบบใด เพราะฉะนั้นหลังจากการกลับมาออกกำลังกายจะกลับมาแข็งแรงดังเดิมได้อย่างรวดเร็ว ในระยะเวลา 3-6 สัปดาห์
- กล้ามเนื้อของคนทั่วไปก็มีหน่วยความจำเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจะกลับมาแข็งแรงดังเดิมได้เร็วกว่าเริ่มต้นฝึกใหม่ๆ แต่ใช้เวลามากกว่านักกีฬา (มากกว่า 3-6 สัปดาห์)


แล้วจะทำอย่างไร ถึงจะอยู่บ้านอย่างแข็งแรงพร้อมสู้กับโควิด-19
 ได้

  1. ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-120 นาที ขึ้นกับความฟิตของแต่ละคน
  2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือนานเกินไป เพราะพบว่า 3-72 ชั่วโมง หลังการออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะเกิดการอ่อนล้า ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงในระยะเวลาดังกล่าว ส่งผลให้ง่ายต่อการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้จากรายงานการวิจัย ยังพบว่าเพิ่มโอกาสที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอีกด้วย
  3. ความหนักที่เหมาะสมจึงดูจากระดับการเต้นของหัวใจ ซึ่งควรออกกำลังที่ระดับการเต้นหัวใจ (Heart rate training zone) ที่ 2 ระยะเวลาขึ้นกับความฟิต โดยจะอยู่ที่ 30-120 นาที
  4. พักผ่อนอย่างเพียงพอ สำคัญเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย ความสมดุลระหว่างสองสิ่งนี้จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นความเข้าใจผิดที่คิดว่าการออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน สามารถต่อสู้กับไวรัสได้ ความสมดุลระหว่างการออกกำลังกาย และการพักผ่อนต่างหากคือสิ่งที่สำคัญ

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

เตือน! ห้ามใส่ “หน้ากากคลุมหน้า-หน้ากากอนามัย” ให้ “ทารก” เสี่ยงอันตรายต่อระบบประสาท

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ประกาศเตือนสถานพยาบาล ห้ามใส่ face shield และหน้ากากอนามัยให้เด็กทารกแรกเกิด เสี่ยงภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งได้

ในเด็กเล็กทารกแรกเกิดที่เพิ่งคลอดในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกน้อยจะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสหรือไม่ เมื่อมีความจำเป็นต้องพาลูกน้อยออกมาข้างนอกบ้าน หรือโรงพยาบาล จึงอาจอยากป้องกันไวรัสให้ลูกด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากคลุมหน้า หรือ Face Shield ให้
อย่างไรก็ตาม การสวมหน้ากากให้เด็กทารกแรกเกิด เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กมากกว่าจะช่วยป้องกันไวรัส

 
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในการใส่หน้ากากคลุมหน้า หรือหน้ากากอนามัย

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ประกาศเตือนว่า การสวมหน้ากากให้เด็กทารกแรกเกิด เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก ดังนี้
  1. ทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก ยังไม่มีความสามารถในการหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้เมื่อมีการขาดอากาศ หรือ ออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็นหน้ากาก หากมีคุณสมบัติในการต้านต่อการไหลของอากาศเข้า-ออกสูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก
  2. วัสดุพลาสติกที่ใช้บังหน้าทารก อาจมีความคมบาดใบหน้า และดวงตาของทารกได้

 
ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 จากผู้ใหญ่สู่เด็กทารก

อ้างอิงจากมาตรฐานสากลทั้งองค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ ช่องทางการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ไปสู่ทารกแรกเกิดที่สำคัญที่สุด คือ การกระจายเชื้อไวรัสจากผู้เลี้ยงดูทารก ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่ ญาติ พี่เลี้ยงเด็ก ผ่านทางละอองฝอยจากการไอ จาม การสัมผัสจากมือผู้เลี้ยงดู หรืออุปกรณ์ สิ่งของที่มาสัมผัสทารก

 
การป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสสู่ทารกที่ดีที่สุด

  1. ล้างมือของตัวเองให้สะอาด ตามสุขอนามัยก่อนสัมผัสทารก และผู้เลี้ยงดูสามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ หากไม่แน่ใจในอาการของตัวเอง
  2. ผู้ที่มีอาการไม่สบาย โดยเฉพาะมีอาการทางระบบหายใจ งดเข้าใกล้ทารก
  3. งดการนำทารกแรกเกิดออกนอกบ้าน ยกเว้นการพาไปฉีดวัคซีนตามกำหนด หรือไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่สบาย
  4. หากจำเป็นต้องพาทารกไปอยู่ในที่ชุมชน ควรปฏิบัติตามนโยบายของ Physical Distancing (เว้นระยะห่างทางร่างกายจากผู้อื่นในระยะ 2 เมตร) อย่างเคร่งครัด
  5. งดการเยี่ยมทารกจากบุคคลภายนอก ทั้งที่โรงพยาบาล และที่บ้าน ควรใช้โซเชียลมีเดีย วิดีโอคอล แสดงความยินดีต่อครอบครัวแทน

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

รับมือ โควิด-19 ด้วยหลัก Social Distancing จาก WHO

จากภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน ทั่วทั้งโลกก็กำลังเผชิญกับวิกฤติการระบาดของโรคนี้อยู่ โดยเฉพาะประเทศไทย ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกๆวัน Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์โดยตรงกับ คุณเพียงใจ บุญสุข เจ้าหน้าที่ชำนาญการด้านภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินและการดื้อยาต้านจุลชีพ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ถึงแนวทางการดูแลตนเองและรับมือกับโรคโควิด-19 โดยคุณเพียงใจ บุญสุข ได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ โรคโควิด-19 และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับหลัก Social Distancing ไว้ดังนี้


โรคโควิด-19 คืออะไร

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่นี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมปี 2562 ที่ผ่านมา ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาได้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างในมณฑลหูเป่ยประเทศจีน และระบาดไปทั่วโลก ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้ตั้งชื่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “โรคโควิด-19”


โรคโควิด-19 ติดต่อผ่านทางไหนได้บ้าง

โรคโควิด-19 สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ผ่านการไอ จามของผู้ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ที่ติดเชื้อ 
สมมุติว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีการไอหรือจาม ละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จะสามารถฟุ้งกระจายไปได้ไกลในรัศมีถึง 1 เมตร เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่อยู่ในรัศมี 1 เมตร ก็จะสามารถรับละอองน้ำมูก น้ำลายนั้นไปโดยตรง แล้วก็เข้าไปในร่างกายและเกิดการติดเชื้อได้ 
หรืออีกกรณีหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ป่วยเวลาไอ จาม และมีการไอจามที่ไม่ถูกวิธี เช่น ใช้มือปิดปากในการไอ จาม แล้วไม่ได้ล้างมือทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นเอามือไปสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ปุ่มกดลิฟท์ เมื่อมีอีกคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ป่วยเลย มาใช้สิ่งแวดล้อมเดียวกัน เอามือมาสัมผัสเก้าอี้ โต๊ะ ใช้มือบิดลูกบิดประตูที่ยังไม่ได้ทำความสะอาด หรือไปกดปุ่มลิฟต์นั้น แล้วนำมือนั้นมาสัมผัสกับใบหน้าของตัวเอง โดยเฉพาะบริเวณดวงตา บริเวณของจมูกและปาก เชื้อก็จะสามารถเข้าสู่ร่างกายและเกิดการเจ็บป่วย ติดเชื้อโควิด-19 ได้


อาการของโรคโควิด-19 มีอาการแบบไหนบ้าง และโรคนี้มีความรุนแรงแค่ไหน

อาการของ โรคโควิด-19 มีได้หลายแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ เลย มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือว่ามีอาการค่อนข้างรุนแรง จนกระทั่งถึงขั้นเสียชีวิต อาการที่พบได้บ่อย เช่น มีไข้ ปวดเนื้อปวดตัว มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ไอ จาม มีเสมหะ บางคนมีอาการรุนแรงที่เป็นปอดอักเสบ และทำให้เกิดอาการหายใจลําบาก หายใจติดขัด 
“จากข้อมูลล่าสุด เราพบว่ามีคนไข้ส่วนหนึ่งดังที่ได้แจ้งไปแล้วว่า ไม่แสดงอาการใดๆ เลย โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ในขณะเดียวกันประมาณ 80% ของผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาใดๆ เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะหายเองได้ แต่จะมีคนไข้ส่วนหนึ่งประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ อาจจะมีอาการรุนแรง เช่น มีอาการปอดอักเสบ มีภาวะหายใจติดขัด หายใจลำบาก ซึ่งอาการกลุ่มนี้มักจะพบในผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ สำหรับกลุ่มนี้ต้องมีความระวังเป็นพิเศษ”


หน้ากากอนามัยสามารถป้องกันการติดเชื้อได้จริงหรือไม่? และถ้าหากได้ วิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

“องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่ป่วย หรือผู้ที่มีอาการของ โรคโควิด-19 เช่น มีไข้ ไอ มีเสมหะ หรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วย หรือบุคลากรทางการแพทย์ อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้หน้ากากอนามัยเป็นที่ต้องการ และก็ขาดแคลนทั่วโลก เพราะฉะนั้นเราแนะนำให้ใช้อย่างเหมาะสม และใช้สำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ”
สำหรับวิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง สามารถทำได้ดังนี้
  • ก่อนสวมหน้ากากอนามัย จะต้องล้างมือทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือเจลแอลกอฮอล์ให้เรียบร้อยก่อน
  • ตรวจสอบโดยรอบก่อนสวมหน้ากากอนามัย ว่าหน้ากากอนามัยมีการชำรุดเสียหายหรือไม่ สภาพพร้อมใช้งานหรือเปล่า
  • เมื่อสำรวจจะเห็นแถบเหล็กบางๆ ส่วนนั้นคือด้านบน
  • หน้ากากอนามัยจะมีสีเขียวเข้มกับสีเขียวอ่อน หรืออาจจะเป็นสีอื่น ซึ่งแล้วแต่โรงงานที่ผลิต เวลาสวมให้สีเขียวเข้ม (หรือด้านสีเข้ม) อยู่ด้านนอก สีเขียวอ่อน (หรือด้านที่มีสีอ่อน) อยู่ด้านใน หรือปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากของผลิตภัณฑ์
  • การสวมหน้ากากอนามัยให้ครอบหน้ากากอนามัยไปบนใบหน้า แล้วคล้องสายไปยังบริเวณหูทั้งสองข้าง 
  • ปรับบริเวณแถบเหล็กให้แนบไปกับบริเวณใบหน้า และปรับไม่ให้มีช่องว่างระหว่างใบหน้าและบริเวณคาง
  • ระหว่างที่ใส่หน้ากากอนามัย ไม่สัมผัสกับหน้ากากอนามัยด้านนอก ถ้าเกิดการสัมผัสจะต้องไปล้างมือทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือเจลแอลกอฮอล์
  • ถ้าหน้ากากอนามัยเปียกชื้นจะต้องเปลี่ยนอันใหม่ทันที
  • หลังจากใช้งานเสร็จ ให้ถอดบริเวณสายคล้องหูทั้งสองข้างออก และทิ้งหน้ากากอนามัยลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เสร็จแล้วจึงล้างมือทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือเจลแอลกอฮอล์อีกรอบ
สำหรับคำถามเรื่องหน้ากากอนามัยสามารถป้องกัน โรคโควิด-19 ได้หรือไม่ คุณเพียงใจให้คำตอบเอาไว้ว่า “สามารถป้องกันโรคได้ส่วนหนึ่งแต่ไม่ได้ทั้งหมด จำเป็นจะต้องใช้ร่วมกับวิธีอื่นๆ ด้วย” ดังนี้
  • หมั่นล้างมือทำความสะอาดอยู่เสมอ 
  • ไอ จาม ให้ถูกวิธี ในกรณีที่ไม่มีหน้ากากอนามัยหรือหาอุปกรณ์อะไรไม่ได้เลย ให้ใช้ข้อพับแขนด้านในสำหรับเวลาไอหรือจาม เพื่อปิดปากและจมูก หรือใช้กระดาษทิชชู่ในการปิดปากเวลาไอหรือจาม เสร็จแล้วทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด จากนั้นล้างมือ หรือล้างบริเวณข้อพับแขนด้านในให้เรียบร้อย
  • หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว
  • รักษาระยะห่างระหว่างบุคคลให้อยู่ในระยะ 1-2 เมตร เสมอ
  • ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ ไอ จาม มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ หรือมีความเสี่ยงของ โรคโควิด-19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งไว้ ให้โทรปรึกษาที่ 1422 หรือเบอร์หมายเลขอื่นที่ทางรัฐบาลกำหนด เพื่อปรึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติม และรับการรักษาที่ถูกต้อง


เชื้อโควิด-19 สามารถอยู่ติดบนพื้นผิวได้นานแค่ไหน

มีหลายคนที่มีความกังวลว่าเชื้อของ โรคโควิด-19 อาจจะตกค้างหรือติดอยู่กับวัสดุและพื้นผิวต่างๆ จึงมีความกังวลว่าตนเองอาจจะได้รับเชื้อผ่านการสัมผัสกับวัตถุต่างๆ ได้ ซึ่งในความกังวลข้อนี้ คุณเพียงใจได้ให้คำตอบไว้ว่า “ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้ จะสามารถอยู่บนพื้นผิวได้หลายชั่วโมง หรืออยู่ได้หลายวัน ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของพื้นผิวสัมผัสและปริมาณ แต่ก็มีความเป็นได้น้อยมากที่ไวรัสจะยังคงมีชีวิตอยู่ 
ยกตัวอย่างเช่น กว่าที่พัสดุจะถูกส่งมายังผู้รับ พัสดุนั้นจะถูกส่งไปยังที่ต่างๆ และผ่านสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ก็มีโอกาสน้อยมากที่ไวรัสจะยังมีชีวิตอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดว่าผู้รับพัสดุมีความกังวลในการรับพัสดุ และคิดว่าพัสดุอาจจะปนเปื้อน ก็อาจจะต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคก่อน ถ้าเป็นวัสดุบางประเภทก็อาจจะใช้แอลกอฮอล์ 70% ในการทำความสะอาดก่อนได้เลย  หรือถ้าเป็นวัสดุเป็นกล่องก็อาจจะต้องทิ้งไปเลย ไม่นำกลับมาใช้อีก และหลังจากสัมผัสกับพัสดุแล้ว ก็ให้ล้างมือทำความสะอาดให้เรียบร้อย ด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้เจลแอลกอฮอล์”
ในตอนท้าย คุณเพียงใจ ได้ฝากคำแนะนำสำหรับการดูแลและระมัดระวังตนเองในช่วงการระบาดของ โรคโควิด-19 ด้วยหลักการดูแลตนเองง่ายๆ เรียกว่า 3 S ง่ายๆ ดังนี้
Social Distancing งดสังสรรค์ งดพบปะกัน รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตรเสมอ
Stay home ควรอยู่บ้านและไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น 
Stay Safe ดูแลสุขภาพตนเองให้ปลอดภัย ระวังไม่ให้เจ็บป่วย
แม้การระบาดของ โรคโควิด-19 จะยังคงอยู่ในขั้นวิกฤติทั่วทุกมุมโลก แต่สิ่งสำคัญคือทุกคนควรมีการดูแลตนเองให้ถูกวิธี ปฏิบัติตนตามหลัก Social Distancing ไม่เพิ่มเชื้อ และไม่แพร่เชื้อให้กับผู้อื่น เพื่อให้ประเทศชาติของเราสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ เพื่อลูกหลาน เพื่อครอบครัว และเพื่อคนที่รักของเรา

ไรขนตา ปรสิตตัวน้อย ต้นเหตุของอาการระคายเคืองรอบดวงตา

ใครจะไปรู้ว่าดวงตาของเราจะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอาศัยอยู่ และเจ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยังสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองจนนำไปสู่อาการตาแดงได้อีก ซึ่งทางการแพทย์ได้ให้คำนิยามสิ่งมีชีวิตนี้ว่า ไรขนตา แต่จะป้องกันอย่างไรไม่ให้ดวงตาของเราอักเสบเพิ่ม จนถึงขั้นร้ายแรง ติดตามได้ในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอได้นำวิธีรักษามาฝากทุกคนกัน


ทำความรู้จักกับ "ไรขนตา"

ไรขนตามัก (Eyelash Mites) อาศัยอยู่ตามรูขุมขนของผิวเรา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท หลักๆ ที่คอยรบกวนผิวหนังของมนุษย์ ได้แก่ Demodex folliculorum และ Brevis Demodex ซึ่งคุณไม่มีทางมองเห็นพวกมันได้ตาเปล่าอย่างแน่นอน ต้องใช้อุปกรณ์อย่างกล้องจุลทรรศน์ส่องเพียงเท่านั้น และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่คอยกัดกินเซลล์ผิวที่ตายแล้ว อย่างเช่น รอบใบหู ขาหนีบ แขน รวมถึงรอบดวงตาของเรา ก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังด้านอื่นๆ ตามมา หรืออาจทำให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

สาเหตุที่ทำให้เรามีไรขนตา

สาเหตุที่พบส่วนมากมักมาจากการแต่งหน้ามากเกินไป ลบเครื่องสำอางไม่หมด โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ชอบทาอายชาโดว์ และปัดมาสคาร่า รวมทั้งต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันเยอะจนเกินไป ทำให้ปรสิตเหล่านี้คืบคลานมากัดกินเซลล์ผิวของคุณในยามค่ำคืน


อาการที่เกิดขึ้น หากเรามีไรขนตา

อาการที่พบบ่อย เมื่อโดนไรขนตาโจมตี ได้แก่
  • คันรอบๆ บริเวณโคนขนตา หรือเปลือกตา
  • รู้สึกถึงสะเก็ดที่หลุดออกรอบผิวหนัง
  • ดวงตาเริ่มมีสีแดงก่ำ
  • รู้สึกแสบร้อนภายในดวงตา
  • มองเห็นไม่ค่อยชัด
แต่หากมีอาการนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ตาอักเสบบวม ขนตามีความหนืดเหนียว และคันระคายเคืองอย่างรุนแรง นำไปสู่กระพริบตาถี่ๆ โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที


วิธีรักษา และป้องกันไม่ให้ไรขนตาสร้างความระคายเคือง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำการวินิจฉัยด้วยการนำเนื้อเยื่อ หรือขนตาที่ลอกออกจากดวงตาของคุณ จากนั้นจะทำการสั่งยาเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และการวางไข่ของไรขนตา
แต่ยังคงมีวิธีป้องกันในเบื้องต้นที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆ ไม่ให้ปรสิตตัวน้อยมาสร้างความระคายเคืองให้ดวงตาของคุณนั่นก็คือ
  • หลีกเลี่ยงการปัดมาสคาร่า หรือเครื่องสำอางอื่นๆ ที่ใช้กับเปลือกตา
  • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ถูรอบดวงตาเบาๆ ด้วยน้ำเปล่าเท่านั้น
  • ใช้ผ้าสะอาดเช็ดขนตาทุกวัน และรอบดวงตาทุกวัน โดยเฉพาะมีเศษฝุ่น หรือความมันส่วนเกิน
  • ขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกด้วยแปรงขัดที่ใช้สำหรับดวงตา และสบู่เด็ก โดยใช้แรงขัดเบาๆ

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563

กิน วิตามินซี ช่วยป้องกัน โควิด-19 ได้หรือไม่

ในช่วงที่ร่างกายต้องการภูมิต้านทานโรคที่แข็งแรง วิตามินซีช่วยให้เรารอดพ้นจากโควิด-19 ได้มากน้อยแค่ไหน


วิตามินซี เป็นวิตามินที่ถูกพูดถึงบ่อยเมื่อเรามีอาการไข้หวัด เราอาจจะได้รับวิตามินซีจากแพทย์เมื่อเราเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก นอกจากนี้วิตามินซียังหาซื้อรับประทานเองได้ง่ายในหลายๆ รูปแบบ โดยเฉพาะเม็ดอมสีสันสดใสรสชาติเปรี้ยวหวาน เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี
แต่ วิตามินจะช่วยป้องกันร่างกายเราจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ได้หรือไม่?

 
ประโยชน์ของวิตามินซี

วิตามินซี มีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกายไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อ ของผิวหนัง เส้นเอ็น เส้นเลือด ซึ่งวิตามินซีนั้นจะช่วยให้อวัยวะเหล่านี้ไม่เปราะ ยืดหยุ่น และแข็งแรง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เราไม่ป่วยหรือเป็นหวัดได้ง่ายๆ

 
วิตามิน เพิ่มภูมิต้านทานโรคได้อย่างไร?

สารต้านอนุมูลอิสระในวิตามินซีช่วยลดการอักเสบ ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็ว ซึ่งช่วยให้ภูมิต้านทานโรคทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และวิตามินซียังช่วยเร่งการทำงานของ “ฟาโกไซต์” (phagocytes) เซลล์ที่ช่วยกลืนกินแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่อาจเข้ามาทำร้ายร่างกายเราได้ด้วย จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภูมิคุ้มกันโรคนั่นเอง

 
กิน "วิตามินซี" ช่วยป้องกัน "โควิด-19" ได้หรือไม่?

มีรายงานวิจัยพิสูจน์ได้ว่า วิตามินซีช่วยย่นระยะเวลาในการรักษาไข้หวัดให้หายได้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยป้องกัน “ไข้หวัด” ตั้งแต่ต้น เพียงช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคโดยรวมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น เท่ากับว่าแค่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้บางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อไวรัสแต่ละชนิด
สำหรับไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ยังไม่มีรายงานวิจัยแน่ชัดว่าการบริโภควิตามินซีสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยตรงมากน้อยแค่ไหน แต่สำหรับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารโรคติดเชื้อของจีนของสมาคมแพทย์เซี่ยงไฮ้ ระบุว่า การเพิ่มปริมาณวิตามินซีให้กับผู้ป่วยโควิด-19 สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้ โดยวิตามินซีสามารถช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น โดยเป็นการเพิ่มปริมาณมากกว่าที่ควรกินในแต่ละวันเล็กน้อย

เราควรรับประทานวิตามินซีเสริมในช่วงโควิด-19 ระบาดหรือไม่?

ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า วิตามินซีในรูปแบบของอาหารเสริม สามารถลดความเสี่ยงของร่างกายในการติดเชื้อโควิด-19 ได้
แม้ว่าวิตามินซีจะช่วยลดระยะเวลาในการรักษาไข้หวัดให้หายได้เร็วขึ้นจริง แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าจะได้ผลเช่นเดียวกันกับอาการติดเชื้อโควิด-19
นอกจากนี้ วิตามินซีสามารถละลายได้ในน้ำ ปริมาณวิตามินซีที่เรารับประทานเกินความต้องการของร่างกายจะถูกขับออกไปผ่านปัสสาวะ การรับประทานวิตามินซีเพิ่มไปจากที่ร่างกายต้องการไม่ได้ช่วยให้ร่างกายได้รีบวิตามินซีมากขึ้น การที่ในโรงพยาบาลสามารถให้ผู้ป่วยรับวิตามินซีเพิ่มได้ เป็นการให้วิตามินซีผ่านทางหลอดเลือดดำ ไม่ได้ให้ทางปาก (กิน) และการกะขนาดให้พอดีก็ต้องมาจากการคำนวณจากทีมแพทย์เท่านั้น
ข้อเสียของการรับประทานวิตามินซีมากเกินไป อาจทำให้มีอาการท้องเสียได้ โดยร่างกายพยายามขับน้ำออกมามากขึ้นพร้อมกับวิตามินซีที่ร่างกายได้รับเกินไปนั่นเอง
 
กล่าวโดยสรุปว่า วิตามินซีช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคได้ แต่ยังไม่มีงานวิจัยพิสูจน์ไดด้ว่าสามารถปกป้องร่างกายจากโควิด-19 ได้ เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโดยรวมได้ และหากรับประทานวิตามินซีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภูมิคุ้มกันโรคของตัวเอง ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ผักสีเขียวเข้มอย่าง ผักคะน้า บรอกโคลี ปวยเล้ง ใบมะรุม และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะขามป้อม สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ลิ้นจี่ เป็นต้น