ทั้งตัวผู้ป่วยเอง และผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) อาจมีความกังวลใจในหลายๆ เรื่อง ว่าหลังจากที่รักษาตัวจนหายดีแล้ว จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติอย่างที่เคยทำมาก่อนได้มากน้อยแค่ไหน กลับมาติดเชื้อซ้ำได้หรือเปล่า และมีอะไรที่ควรระมัดระวังหรือไม่ มีคำตอบมาฝากจาก อ.ดร.พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ แพทย์สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากรายการ ติดจอ ฬ.จุฬา
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว แพร่เชื้อให้คนอื่นต่อได้หรือไม่?
ปกติแพทย์จะให้ผู้ป่วยที่รักษาจากอาการติดเชื้อโควิด-19 หายดีแล้วออกจากโรงพยาบาลได้ก็ต่อเมื่อครบระยะ 14 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะกลับไปแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน ครอบครัว หรือชุมชนจะน้อยมาก เพราะการแพร่เชื้อของโรคนี้จะสูงสุดในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังจากที่เริ่มมีอาการแล้ว และเชื้อต้องมีการติดต่อ ส่งผ่านอย่างใกล้ชิด หากผู้ป่วยอยู่ในบ้าน คนในชุมชนแทยจะไม่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อใดๆ จากผู้ป่วยเช่นกัน
ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำหลังหายดีหรือไม่?
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว หากมีอาการดีขึ้น ไม่มีอะไรผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อซ้ำอีก เนื่องจากวิธีตรวจหาเชื้อ สามารถตรวจจับเชื้อที่มีปริมาณน้อยได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ตรวจเชื้อซ้ำ
วิธีเช็กว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว จะไม่กลับมาแพร่เชื้อได้อีก
- ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ ไอ จาม และน้ำมูก
- ผู้ป่วยผ่านระยะเวลาเกิน 14 วัน หลังจากที่เริ่มมีอาการไปแล้ว มีโอกาสแพร่เชื้อต่อได้น้อยมาก ถือว่าผู้ป่วยหายจากโควิด-19 โดยที่ไม่ไปแพร่เชื้อให้คนอื่นได้
ผู้ป่วยโควิด-19 มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้หรือไม่?
หากผู้ป่วยไม่มีอาการโควิด-19 หลัง 14 วันเป็นต้นไป โอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งถือว่าน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ทำให้มีภูมิต่อการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขจะยังแนะนำให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้านจนครบ 1 เดือน ให้พักผ่อน ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน โดยที่ยังใช้มาตรการ และแนวทางเดิม
วิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วย เพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัว และคนในชุมชน
- รักษาระยะห่างจากคนในบ้าน 1-2 เมตร รวมถึงตอนรับประทานอาหารแทงหวยออนไลน์
- แยกห้องนอน
- ไม่ใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ ร่วมกัน
- แยกซักเสื้อผ้า ด้วยผงซักฟอกปกติ
- ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆ
- ผู้ป่วยควรพยายามไม่นำตัวเองไปเสี่ยงรับเชื้อไวรัสใหม่ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่ร่างกายอีก
- แยกทิ้งขยะที่มีน้ำมูก หรือน้ำลายอยู่ เช่น หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว โดยใส่ถุงแยกสองชั้น
- ผู้ป่วยที่เพิ่งหาย ควรใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงคนในครอบครัวที่จำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วย
- ลดการสัมผัสบริเวณที่แตะบ่อยๆ รวมถึงการใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก
- ล้างมือบ่อยๆ
ติดตาม ข่าวกีฬา ข่าวประจำวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น